ไร้ที่พึ่ง...แต่ไม่ไร้ที่พัก (พิง) กับสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี

 สืบสานภูมิปัญญา ผักตบชวาพัฒนาอาชีพ “ทำได้ง่าย ขายได้จริง”

          สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดนนทบุรี ในการจักรสานผักตบชวาซึ่งเป็นพืชน้ำที่ขยายพันธ์และเติบโตเร็วจนกีดขวางทางน้ำของแม่น้ำลำคลองในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและภายในสถานคุ้มครอง ฯ โดยได้จัดอบรมการผลิตผลิตภัณฑ์จักรสานจากผักตบชวาให้แก่ผู้ใช้บริการที่มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ จำนวน 30 คน ในระหว่างวันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2563 เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความรู้ ทักษะ และเทคนิคในการสานและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด โดยได้รับเกียรติจากคุณเพ็ญศรี ฉะอ้อนชม และคณะวิทยากรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวา บ้านคลองนกกระทุง จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการจักสานผักตบชวามากว่า 20 ปี

          นางสาวเกตุมณี กล่าวว่า สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี มีจุดมุ่งหมายในการดำเนิงงานคือการสร้างความพร้อมทั้งทางกาย จิต และอาชีพ เพื่อให้แก่คนเร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง ที่เข้ารับบริการ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวและสังคมได้อย่างมั่นคง มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ทั้งนี้ สถานคุ้มครอง ฯ มีแนวคิดในการเลือกหลักสูตรฝึกวิชาชีพ ภายใต้หลักการ “ทำได้ง่าย ขายได้จริง” โดยให้เหตุผลว่า การฝึกอาชีพที่ยากเกินศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย หรือใช้วัตถุดิบที่หาได้ยาก มีต้นทุนสูง จะทำให้ผู้ใช้บริการขายสินค้าได้ยาก ขาดรายได้ ไม่สามารถดำรงชีวิตและคงอยู่ในชุมชนได้ สุดท้ายก็จะต้องกลับเข้ามารับบริการซ้ำอีก การจักสานผักตบชวาจึงเป็นการฝึกอาชีพบนแนวคิดดังกล่าว เพราะผักตบชวาหาได้ง่ายไม่เสียค่าใช้จ่าย ลงทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์พื้นฐานที่ทุกครัวเรือนต้องใช้ จึงเป็นอาชีพที่เหมาะแกผู้ใช้บริการของเราเป็นอย่างยิ่ง

          ในตอนท้าย นางสาวเกตุมณี ได้กล่าวเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง โดยร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของคนไร้ที่พึ่งของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ต่อไป

          หากประชาชนประสบปัญหาทางสังคม หรือพบเห็นคนไร้บ้านและผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ สามารถแจ้ง สายด่วน พม. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง "เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน"

          สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมดี ๆ รวมถึงความเคลื่อนไหวในการดำเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้ที่

ความคิดเห็น