หนาวนี้...ที่บนดอย ตามรอยภูมิวัฒนธรรม ตอนที่ 1 “แวะ พัก ทัก อาข่า” จังหวัดเชียงราย

จากจุดเริ่มต้น การขับเคลื่อนงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎรบนพื้นที่สูงให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ และสร้างรายได้  โดยอาศัยกลไกด้านการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ ยกระดับการท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มาสัมผัสความงดงามตามวิถีธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของราษฎรบนพื้นที่สูงเผ่าต่าง ๆ
หากกล่าวถึงชนเผ่าอาข่าน้อยคนนักที่จะรู้จัก “อาข่า” มีต้นกำเนิดบริเวณที่ราบสูงธิเบต ต่อมาอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในบริเวณประเทศจีนทางตอนใต้ พม่า ลาว และอพยพลงมาถึงประเทศไทยเมื่อประมาณ 90 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่บ้านพญาไพร อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย และขยายพื้นที่ไปอาศัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก กำแพงเพชร และแพร่ ซึ่งปัจจุบันสามารถพบชาวอาข่า 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ จ่อกวย ลอยมี และผาหมี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ครอบครัวของอาข่าเป็นครอบครัวแบบขยาย สามีมีภรรยาได้หลายคน ระบบความเชื่อยังมี “ลัทธิบูชาผี” ซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ชนเผ่าอาข่ายังมีวิถีชีวิตที่น่าสนใจอีกมากมายให้ท่านได้ลองมาสัมผัส “แวะ พัก ทัก อาข่า”จังหวัดเชียงราย ชมความหลากหลายวัฒนธรรม การเต้นรำ แต่งกายหลายรูปแบบ พักอิงแอบธรรมชาติ ต้องไม่พลาด โปรโมชั่นพิเศษช่วงเดือนธันวาคม 2562 - กุมภาพันธ์ 2563 มีดังนี้
1. ที่พักโฮมสเตย์ ลด 100 บาท จากปกติ 400 บาท เหลือเพียง 300 บาท/คน
2. แพ็กเกจท่องเที่ยว One day trip เพียง 750 บาท/คน
3. แพ็กเกจท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน ลด 300 บาท จากปกติ 1500 บาท เหลือเพียง 1,200 บาท/คน
4. อื่น ๆ การแสดงมินิไลท์แอนซาว (อาข่าคนภูเขา) ลด 5,000 จากปกติราคา 20,000 บาท เหลือเพียง 15,000 บาท 
ขอเชิญชวนผู้มีใจรักอัตลักษณ์วิถีชีวิตคนบนดอย ลองมาสัมผัสความงดงามของชนเผ่าอาข่า จังหวัดเชียงราย สิ่งที่ได้รับไม่ใช่แค่การท่องเที่ยว แต่ท่านจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานสวัสดิการในชุมชน รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งจะนำมาพัฒนาชุมชน ต่อยอดกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนให้เกิดความยั่งยืน อีกส่วนหนึ่งจะนำมาจัดสวัสดิการให้แก่คนในชุมชน หรือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เช่น เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ คนเร่ร่อน เป็นต้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงเชียงราย โทร. 0 5360 2579
โปรแกรมท่องเที่ยว
1 วัน ราคา 750 บาท/คน
09.00 น. - นัดพบ ณ ร้านกาแฟม่อนแสนใจ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย
10.00 น. - เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
10.30 น. - เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขา 8 ชนเผ่า
11.00 น. - เยี่ยมชมสุดยอดผลิตภัณฑ์ชาวเขา ณ ร้านผลิตภัณฑ์ชนเผ่าม่อนแสนใจ
12.00 น. - รับประทานอาหารกลางวันแบบขันโตกอาข่า
13.00 น. - ชมและสัมผัสวิถีอาข่า (ผูกข้อไม้ข้อมือสู่ขวัญแบบอาข่า) การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาข่า 11
               ร้านค้า / ชมภูมิปัญญาการรักษาด้วยสมุนไพรอาข่า การผลิตไม้กวาดดอกหญ้า / การตำข้าวซ้อมมือ
               และการทอผ้าอาข่า / สัมผัสวิถีการทำพวงกุญแจขนไก่
17.00 น. - ชมสวนไร่ชาฉุยฟง
18.00 น. - เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
2 วัน 1 คืน ราคา 1,200 บาท/คน
วันที่ 1
09.00 น. - นัดพบ ณ ร้านกาแฟม่อนแสนใจ ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย
10.00 น. - เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
10.30 น. - เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขา 8 ชนเผ่า
11.00 น. - เยี่ยมชมสุดยอดผลิตภัณฑ์ชาวเขา ณ ร้านผลิตภัณฑ์ชนเผ่าม่อนแสนใจ
12.00 น. - รับประทานอาหารกลางวันแบบขันโตกอาข่า
13.00 น. - 16.00 น. - ชมและสัมผัสวิถีอาข่า การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาข่า 11 ร้านค้า ชมภูมิปัญญา
                             การรักษาด้วยสมุนไพรอาข่า การผลิตไม้กวาดดอกหญ้าการตำข้าวซ้อมมือ และการทอ
                             ผ้าอาข่า
16.30 น. - พักผ่อนตามอัธยาศัย ณ บ้านพักโฮมสเตย์
18.00 น. - รับประทานอาหารเย็นแบบขันโตกอาข่า พร้อมชมการแสดงวิถีชีวิตอาข่า ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีอาข่า
วันที่ 2
06.00 น. - ไปจุดชมวิวดอยแสนสุข
07.00 . - รับประทานอาหารเช้า
08.30 น. - นัดพบ ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีอาข่า ศึกษา เรียนรู้ ข้อมูลชาติพันธุ์อาข่าในประเทศไทย
09.30 น. - ร่วมเก็บใบชา และชมกระบวนการผลิตชาอัดกระบอก
10.30 น. - สัมผัสวิถีการทำพวงกุญแจขนไก่  และพวงกุญแจลูกข่างอาข่า
12.00 น. - รับประทานอาหารกลางวันแบบขันโตกอาข่า ณ ศูนย์เรียนรู้วิถีอาข่า
13.00 น. - ร่วมสนุกกับการละเล่นสามล้อภูเขา/การละเล่นสะบ้า/การโล้ชิงช้า และร่วมแข่งขันการตีลูกข่างอาข่า
14.00 น. - ชมการตีมีด
15.00 น. - ชมสวนไร่ชาฉุยฟง
            - เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร กิจกรรมดี ๆ รวมถึงความเคลื่อนไหวในการดำเนินงานของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ได้ที่

ความคิดเห็น